Saturday, June 20, 2009

Fundamental Analysis

การลงทุนในตลาด Forex , Future , Option , Commodities , etc..

มีหัวใจในการวิเคราะห์หลัก 3 ประการ คือ

1. Fundamental Analysis (การวิเคราะห์ทางด้านพื้นฐานทางเศรษฐกิจ)
2. Technical Analysis (การวิเคราะห์ทางด้านเทคนิค หรือที่เราคุ้นเคยคือเรื่องการดูกราฟ)
3. Timing (จังหวะ และ โอกาส ในการเข้าซื้อ หรือการเข้าทำกำไร)


ผมไปเจอบทความดี ๆ จากเวป www.goldhips.com เป็นบทความเกี่ยวกับความหมายของข่าว ที่ส่งผลกระทบต่อราคาของค่าเงิน
ซึ่งเราสามารถติดตามข่าวได้จากเวป www.forexfactory.com หรือเวปอื่น ๆ
บทความที่ว่านี้เขียนโดย : ป้าเหมียว

---------------------------------------------------


เขียนโดย : ป้าเหมียว

ระดับความสำคัญของปฏิทินเศรษฐกิจ

1. สำคัญมาก
ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าสำคัญมาก ซึ่งจะเป็นข่าวและตัวเลขที่มีผลกระทบกับค่าเงินของประเทศนั้น ๆ อย่างแรง เมื่อตัวเลขประกาศแล้ว จะมีปริมาณการซื้อขายที่สูงมาก ๆ ซึ่งจะส่งผลอยู่ประมาณ 5 – 10 นาที เราอาจจะได้เห็นกราฟเป็นแท่งยาว ๆ ทั้งขึ้น และ ลง ในเวลาเดียวกัน

2. สำคัญ
อันนี้ก็สำคัญ ก็จะส่งผลกระทบกับตลาดเงินมากแต่น้อยกว่า “สำคัญมาก” อยู่นิดนึง ซึ่งก็จะส่งผลให้มีกราฟยาว ๆ (แต่ขนาดของแท่งจะสั้นกว่าแบบแรก)

3. ทั่วไป
อันนี้จะเป็นข่าวเศรษฐกิจทั่ว ๆ ไป มีผลบ้างเล็กน้อยถึงปานกลาง หากประกาศวันเดียวกับ 2 ตัวบน อาจจะไม่ส่งผลอะไรสำคัญเลย แต่ถ้าประกาศตัวเดียว โดด ๆ อาจมีผลบ้างโดยหากสวนทางกับ 2 ตัวข้างบนอาจทำให้ตลาดนำข่าวนี้มาเล่นได้ เพราะจะเป็นตัววัดอย่างหนึ่งว่า ตัวเลขอื่นอาจจะหลอกลวงได้


คราวนี้ตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศนั้นเกี่ยวอะไรกับราคาทองคำ

โดยปกติราคาทองคำจะขึ้นอยู่กับ

1. อัตราแลกเปลี่ยนของ USD
2. ราคาน้ำมัน
3. ราคาของโลหะพื้นฐาน และ โลหะอื่น พวก ทองแดง เงิน แพตตินั่ม พาลาเดียม
4. อื่น ๆ (ยังนึกมะออกจ้ะ)

คราวนี้ตัวเลขที่ประกาศจะกระทบกับ 2 อย่างตรง ๆ คือ อัตราแลกเปลี่ยน กะ ราคาน้ำมัน


แล้ว 2 ตัวนี้มีความเกี่ยวข้องกะราคาทองคำอย่างไร?

1. อัตราแลกเปลี่ยน โดยปกติ ถ้าไม่มีข่าวอย่างอื่น (หมายถึงพวกข่าวก่อการร้าย ภัยธรรมชาติ ฯลฯ) ที่มีน้ำหนักมากกว่า อัตราแลกเปลี่ยนก็จะมีผลตรง ๆ โดยไม่มีอย่างอื่นมาทำให้ราคาเพี้ยนไปจากเดิม โดยปกติแล้ว ทองคำจะขึ้นเมื่อ USD อ่อนค่า และ ทองคำจะลง เมื่อ USD แข็งค่า
แล้วคำที่ว่าอ่อนค่า กับ แข็งค่า เนี่ย เค้าเทียบกะสกุลไหนบ้าง โดยปกติแล้วจะดูที่ 2 สกุลใหญ่ ชื่อ JPY และ EUR หากสองอันนี้ไปในทิศทางเดียวกัน ก็แสดงว่า USD อ่อน หรือ แข็งจริง ๆ จ้ะ

2. ราคาน้ำมัน จะเป็นตัวช่วยดัน หรือ ฉุด ราคาทองคำในทิศทางเดียวกับราคาน้ำมัน


เอาละ... มาดูกันว่าโดยปกติปฏิทินเศรษฐกิจที่เค้าขยันประกาศตัวเลขกันมีอะไรบ้าง (มันอาจจะไม่ครบทุกอย่างนะ)


ระดับที่เรียกว่าสำคัญมากมีอะไรบ้าง...

ลำดับ ชื่อในปฏิทิน

1 Non farm Payrolls
2 Unemployment Rate
3 Trade Balance
4 GDP ( Gross Domestic Production )
5 PCE Price Deflator ( Personal Consumption Expenditure)
6 CPI ( Consumer Price index )
7 TICS ( Treasury International Capital System )
8 FOMC ( Federal open Market committee meeting )
9 Retail Sales
10 Univ. Of Michigan Consumer Sentiment Survey
11 PPI ( Producer Price Index )


ระดับที่เรียกว่าสำคัญ...

ลำดับ ชื่อในปฏิทิน

12 Weekly Jobless Claims
13 Personal Income
14 Personal spending
15 BOE Rate Decision ( Bank Of England )
16 ECB Rate Decision ( Europe Central Bank )
17 Durable Goods orders
18 ISM Manufacturing Index ( Institute of Supply Manager )
19 Philadelphia Fed. Survey
20 ISM Non-Manufacturing Index
21 Factory Orders
22 Industrial Production & Capacity Utilization
23 Non-Farm Productivity
24 Current Account Balance
25 Consumer Confidence ( Consumer Sentiment )
26 NY Empire State Index - ( New York Empire Index )
27 Leading Indicators
28 Business Inventories
29 IFO Business Index ( Institute of IFO in Germany )


ระดับปานกลางถึงทั่วไป โดยมากใช้เป็นตัววัดพื้นฐาน...
ลำดับ ชื่อในปฏิทิน

30 Housing Starts
31 Existing Home sales
32 New Home Sales
33 Auto and Truck sales
34 Employee Cost Index - Labor Cost Index
35 M2 Money Supply - Money Cost
36 Construction Spending
37 Treasury Budget
38 Weekly Chain Stores - Beige Book -Red Book
39 Whole Sales Trade
40 NAPM ( National Association of Purchasing Management)

เอาละ... รู้ถึงความสำคัญของปฏิทินไปแล้ว คราวนี้มาดูกันว่าแต่ละอัน มันเกี่ยวข้องกันยังไง แล้วมีความหมายเป็นอย่างไร ค่าที่ประกาศออกมาคืออะไร แล้วที่เค้าคาดการณ์ไว้หมายถึงอะไร

ตะว่า... เดี๋ยวค่อยต่อฉบับหน้าน้า

No comments:

Post a Comment

comment