Sunday, November 15, 2009

16/11/52 GBP/USD signal


ตามรูปเลยคับ ถ้าทะลุ trend line resistane ก็ Stop loss เอา ขอให้โชคดีคับ

Friday, November 6, 2009

แนะนำโบรกเกอร์ Fxopen

สวัสดีคับ เมื่อสามสี่วันที่ผ่านมา ผมต้องการเปิดพอร์ตเพื่อทำการเทรดกับทาง fxpro แต่ปรากฎว่า หลักฐานที่แต่ก่อนต้องการเพียงแค่บัตรประชนและบิลต่าง ๆ กับเปลี่ยนมาใช้ passport ซึ่งผมเองไม่มี เป็นเรื่องยุ่งยากมากสำหรับผม ผมใช้เวลากว่า 2 วันในการ search หาข้อมูลเกี่ยวกับโบรกเกอร์อื่นที่น่าลงทุนและเกิดปัญหาน้อยที่สุด จนกระทั่งได้มาพบกับ Fxopen ผมได้ยินชื่อ Fxopen มาก็นาน ซึ่งในประเทศไทยก็มีตัวแทนอำนวยความสะดวกเรื่องการโอนเงิน ผมก็ได้สอบถามกับทางตัวแทน และทำการเปิดใช้บริการบัดเดี๋ยวนั้น อีกทั้งการ Verify ก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ยุ่งยาก หลักฐานที่ใช้ในการเปิดก็มีเพียง
1. บัตรประชน หรือ ใบขับขี่
2. ใบกำกับภาษี ซึ่งผมได้ไปขอกับทาง คาร์ฟู

ง่ายมากคับ scan แล้วก็สมัครได้เลย ระยะเวลาในการสมัครเพื่อทำการเทรด ใช้เวลาแค่คืนเดียว ส่วนเรื่องของการ Verify เพื่อที่จะสามารถทำการถอนเงินได้นั้น ใช้เวลาประมาณ 2 วัน บัญชีก็เป็นอันสมบูรณ์

ถ้าเพื่อน ๆ คนไหนต้องการสมัครกับทาง Fxopen ก็สามารถติดต่อมาทาง e-mail หรือ skype ได้นะคับ

skype id : yamamoto_king
โปรแกรม skype สามารถ download ได้ฟรีจากเวป http://www.skype.com/

e-mail : yamamoto_king@hotmail.com

ปล. หากต้องการสมัครก็สามารถกดที่ link ข้างล่างนี้ได้นะคับ ส่วนเพื่อน ๆ คนไหน สมัคร Fxopen โดยผ่าน link ของผม ผมยินดีให้บริการคำปรึกษาเรื่องการเทรดผ่านระบบ Skype ฟรี ๆ ถือว่าผมก็ได้รู้จักเพื่อนในวงการเพิ่มอีกด้วย แต่ขอเรียนตามตรงว่า ใครที่สมัครผ่าน link ผม ผมได้ค่า commission นะคับ ในส่วนของค่า commission นี่ ผมถือว่าเป็นค่าเหนื่อยในการให้คำแนะนำเรื่องการเทรด หรือ เรื่องระบบเทรดที่ผมได้นำเสนอใน blog ของผมแล้วกัน

หวังว่าผมคงได้พบกับเพื่อน ๆ ในห้อง skype นะคับ จะได้มีกลุ่มคนเล่น forex เยอะ ๆ คุยกันหลาย ๆ คน สนุกดี

link ที่ใช้ในการสมัคร >>>> Registration <<<<

Thursday, October 1, 2009

ผลงานเดือน กันยายน 2009


start : $1000

หน้าบัญชีบัจจุบัน : $4204.70

กำไร : $3204.70

กฎเหล็กของระบบ 5Min ที่ผมได้นำเสนอไปในบทความก่อนหน้านี้ คือ การตั้ง SL ทุกครั้ง และตั้ง Profit ทุกครั้งที่ไม่ได้นั่งดูราคา ระบบนี้ถึงจะประสบความสำเร็จ

Monday, September 7, 2009

5 Min System ที่ผมใช้ในการเทรด


จากรูปคือระบบที่ผมใช้เทรด GBP/USD , EUR/USD ในระยะสั้นๆ ( 5Min)

BUY
1. เส้นเหลือง (SMA 50) ทำมุมชันเกิน 20 องศา เป็นการบ่งบอกถึงความแข็งแรงของเทรน
2. เข้าทำการ buy ในโซน เส้นฟ้าและน้ำตาล ( EMA 21 , EMA 10 )
3. SMA Angle ( indicators ช่องกลาง ) เส้นเหลืองต้องอยู่นอกเส้นประ (level 0.1 , -0.1 ) กราฟแท่งฟ้าต้องอยู่เหนือเส้น 0
4. Forex Freedom (indicators ช่องล่าง ) ต้องเป็นสีฟ้าทั้งสี่แท่ง

SELL
1. เส้นเหลือง (SMA 50 ) ทำมุมชันเกิน 20 องศา
2. เข้าทำการ sell ในโซนเดียวกับการ buy
3. SMA Angle เส้นเหลืองต้องอยู่นอกเส้นประ , กราฟแท่งฟ้าต้องอยู่ต่ำกว่า 0
4. Forex Freedom ต้องเป็นสีแดง ทั้งสี่ช่อง

หลักการ Take Profit
1. Profit +10 to +15 pips ถ้าราคาวิ่ง ก็ปล่อย profit ยาว

หลักการ stop loss
1. กราฟ ทะลุ เส้นเหลือง SMA 50 ( ให้ถือว่า SMA 50 เป็นแนวรับ แนวต้าน สุดท้าย )

พยายามติดตามข่าวด้วยนะครับ เพราะระบบนี้ ให้หลีกเลี่ยงข่าวสำคัญ ช่วงประมาณ ทุ่มครึ่ง ถึง สองทุ่ม

ถ้า เส้นเหลือง SMA50 แบนเรียบ ควรหลีกเลี่ยงการเทรด เพราะเป็นตลาด side way

ปล. ถ้าต้องการ Template และ Indicators ก็ทิ้งเมล์ใน comment นะครับ

Thursday, July 30, 2009

สรุปผลงานการเทรดเดือน กรกฎาคม 2009

จากการใช้ระบบ 5 Min และ 4H system ร่วมกันในการเทรด ผลออกมาเป็นที่น่าพอใจยิ่ง

เงินลงทุน : $1000
กำไร : $3248.04
หน้าบัญชีปัจจุบัน : $4248.04

คิดเป็นกำไร 324.8%

Wednesday, July 22, 2009

Fibonacci Forex Trading

รูปแบบต่างๆที่มักพบ บ่อยๆใน Forex
Double Top
Double Bottom
Triple Top
Cup
Rounding Top
Rounding bottom
Fibonacci

จากรูป เราจะเริ่ม พูดถึง แนวรับ แนวต้าน Double Bottom TP (เป้าหมายที่เราคาดการณ์ไว้) และ stoplossที่ 50% คือ แนวรับ ขีดสีชมพู ด้านล่าง คือ แนวรับ ขีดสีชมพูด้านบนคือแนวต้าน นี้คือสิ่งแรกที่เราต้องหัดวัดเองก่อนที่จะเริ่มไปใช้ fibonacci จากนั่น เราก็จะเรียนรู้ Double Bottom ตรงที่ขีดสีแดงไว้ ลงมาชนแนวรับสองครั้งแรก เด้งขึ้น แบบนี้เรียกว่า Double Bottom พอเรารู้จักแล้วเราก็จะสามารถรู้ TP(เป้าหมาย) ส่วนใหญ่พอมันเด้งขึ้นแล้วมันก็จะวิ่งไปหา แนวรับแนวต้านของเก่าที่มัน เคยทำไว้ คือตรงขีด สีชมพู และตรงกลับ fibo100% ขั้นสุดท้าย หลัก Fibonacci ขอพูดแบบสั้นๆ ขาขึ้น จะขึ้น ไปถึง 61.8 เสมอและจะ ค่อยๆไป 100% และ 161.8% ส่วนขาลง จะลงไปถึง 78.6 เสมอและค่อยลงต่อไปตามลำดับ เดียวดูรูปตาม น่าจะเข้าใจกว่า เขียนยาวๆ



อธิบายรูปนี้ และลองไปฝึกทำดูครับ สิ่งที่เห็นเลย คือ Double Bottom ตรงลูกศร บอกว่าลงมาหนึ่งครั้ง และลงมาอีกหนึ่งครั้ง ถ้าเราเข้าซื้อตรง ลูกศร เราสามารถรู้ stoploss ที่ แนวรับของเก่าคือ ขีดสี สมพูแนวรับ คือจุด stoploss คือต่ำกว่า 50% ก็ยอมขาดทุน แต่TP(เป้าหมาย)คือ แนวต้านของเก่าตรงสีชมพู คือ 100%และมันสามารถทะลุขึ้นไปได้ เป้าหมายต่อไปคือ 161.8% เรารู้หลักแค่นี้เราก็สามารถได้ตามเทคนิคที่เราเรียนรู้มา ขอให้เล่นตามระบบเป็นพอ อย่าตามใจตัวเราเอง และ Double Bottom มักจะ พบบ่อยมาก ในforex เป็นสัญญาณที่ชัดเจนมักจะถึง TP(เป้าหมาย)เสมอ



จากรูป วิธีการใช้ fibonacci ขาเราหา เทรน ขาขึ้น เราก็หา แนวต้านด้านบนก่อน ตรงจุดสีชมพู ด้านซ้าย จะรู้ได้ไงมันคือแนวต้าน ตรงที่แท่งที่ ขึ้นมาย้ำอยู่ตรงที่เดิมหลายๆครั้ง เราก็ให้ตรงนั่นเป็นแนวต้าน และหาจุดต่ำสุด คือแนวรับเช่นกัน ตรงที่ แท่งเทียนย้ำหลายๆครั้ง เราก็ให้เป็นแนวรับ เราก็จะได้เส้น แนวต้านที่ 100% แนวรับที่ 0% เทรนขาขึ้น จะขึ้นไปหา 61.8%เสมอและถ้าขึ้นต่อไปได้จะไปที่ 100% เสมอ เราก็ถึงจริงๆ ตรงเส้นชมพู ด้านขวามือ เห็นมั้ย มันเป็น วัฐจักร แต่ที่ ตรงจุดที่น่าสนใจคือ เราจะบอกเห็นเป็น Cup ถ้วยหงาย ถ้วยหงายนี้ก็มักจะเห็นเสมอใน forex อย่าลืมสังเกตกันละครับ ตัวทำกำไร เช่นกัน




อยากให้เห็นความสำคัญของ fibonacci เลยเอากราฟ เทรนขาขึ้นอันเดิมมาให้ดู ให้วัยรุ่นที่ชอบ เล่นสั้นดู ในขณะที่เป็นเทรน ขาขึ้น มักจะขึ้นไป 61.8%เสมอ และยังไปต่อไม่ได้ เราก็ลาก fibo ย่อยสีแดง จากสูดสุดแถวๆ61.8%ของเส้นสีเหลือง และต่ำสุดของ เก่า พอเราลากได้ เราก็จะได้เทรนขาลงย่อย ขาลงมักจะลงเสมอที่ 78.6% เมื่อลงต่อไม่ได้ ก็กลับเข้าสู้เทรนขาขึ้น เหมือนเดิม และในที่สุดก็ ทะลุ 61.8 %ตรงลูกศรสีฟ้า และต่อไปก็ 100%


ลากfibonacci เราจะเห็นเป็นเทรน ขาลง ขาลงมา 78.6% เสมอ และตราบใดที่ทะลุได้ก็มักจะวิ่งไปที่ 100% เสมอ นี้คือ หลักง่ายๆ ของ fibonacci แต่สิ่งหนึ่งที่ เป็นจุด บ่งบอกว่า น่าจะลง คือ Triple Top ตรงเส้นสีชมพู ขึ้นมาทำมากสร้างแนวรับมากเท่าไหร่ การดีดตัวลงไปก็จะยิ่งมากเท่านั่น เมื่อเราเห็น สัญญาณนี้เราก็ใช้ fibo วัดหาจุดที่มันลงไปสุด ที่เป้าหมายของเรา คือ 78.6% ง่ายๆแค่นี้เองครับ แค่เราไม่ยอมพิจารณา ดูให้รอบครอบกันเอง เส้นสีเหลืองคือจุด stoploss


มาดูต่อไปครับ เริ่มแรกหัด หาแนวรับ แนวต้านเช่นเดิม ที่ขีด สีชมพูไว้ ในรูปเราจะเห็น cup ถ้วยคว่ำ และ Triple Top ชนแนวต้าน สามครั้งติดกัน จะลงแรงเสมอ แถมลงแล้วก็เกิดถ้วยคว่ำ แต่พอเราลาก fibo จะเห็นชัดเจนว่า ไม่สามารถทะลุ 78.6%ได้ ซึ่งเป็นจุดที่เรา ออกพอดี นี้คือกำไรครั้งแรก และกราฟก็วิ่งขึ้น ดิ่งไปที่ 0.0อีก และมาชนแนวต้าน และลงมายาว ขาลงจะลงมาที่ 78.6%เสมอ ถ้าทะลุได้ก็จะลงไปที่ 100% ทะลุได้ก็จะวิ่งไปต่อ 161.8% และทะลุได้อีกก็วิ่งไปต่ออีก….


รูปนี้ คือ ถ้วยหงาย ดีๆนี้เอง แถมยังมี Double Bottom ด้วยยิ่งทำให้มั่นใจได้ว่าน่าจะเด้งขึ้น โดยเราให้ TP(เป้าหมาย)คือ ขีดสีเหลือง ตรงแนวต้านเก่าของแท่งเทียน


จากรูปจะ เห็น เกิดDouble Bottom มองเห็นเหมือตัว W เราเล่นไป เราก็ไปตัด ตรงเครื่องหมายถูก คือ เป้าหมายที่ 1 และเมื่อสามาทะลุได้ก็จะ ไปที่เป้าหมายที่2 ตรงเครื่องหมายถูกด้านบน เล่นตามระบบ เราก็จะได้ตามระเบียบ ยิ่งเราเอา fibonacci มาเกี่ยวข้องเราก็จะ เป้าหมายที่ชัดเจน ขึ้น


- หลักการ ใช้fibonacci ขาขึ้น ถึง 61.8 เสอมเมื่อทะลุได้ก็จะขึ้นต่อไป
- ขาลง จะลงที่ 78.6 เสมอ เมื่อลงได้จะลงต่อ เสมอ
- และรูปแบบที่ยกตัวอย่างมา มักเกิดขึ้นให้เห็นเสมอ
- เวลาเราจะใช้ที่เวลาเท่าไหร่ ลาก ก็ได้ จะได้เหมือนกัน แล้วแต่ ชอบระยะสั้น(15-30M)กลาง(1h) ยาว(4h-D1)

credit : maketiva.wordpress.com

Wednesday, July 15, 2009

16-07-09 Signal GBP/USD


วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม 2552 12:13 PM

Signal : Sell

จากภาพ จะเห็นว่าราคาวิ่งอยู่ใน channel (เส้นแดง) ชนแนวต้านมีทีท่าว่าจะกลับลงมาหาแนวรับ อีกทั้ง MACD ก็เข้าตามทฤษฎี round top โอกาสที่ราคาจะลงมีค่อนข้างสูง
ผมจะหลีกเลี่ยงการเทรดช่วงเวลา ทุ่มครึ่ง สองทุ่มและสามทุ่ม เนื่องมาจากมีข่าวที่มีผลกระทบค่อนข้างรุนแรงกับค่าเงิน usd

7:30 pm unemployment claims
8:00 pm TIC Long-Term Purchases
9:00 pm Philly Fed Manufacturing Index

17-07-09 เป็นไปตามคาดครับ ลงกระจาย

Tuesday, June 30, 2009

ผสม Template 5 Min


นิสัยการเทรดของแต่ละคนนั้น แตกต่างกัน ซึ่งการลอกเลียนแบบการเทรดของคนนู้นคนนี้ บางทีก็ได้ผล บางทีก็ไม่ได้ผล เหตุผลหลักที่เป็นเช่นนั้นก็คือ นิสัยการเทรดนั่นเอง

บทความนี้ผมขอเสนอระบบการเทรดที่ผมผสมปนเปขึ้นมา ระหว่าง 5 Min intraday และ Farwell freedom

ซึ่งระบบนี้เหมาะสำหรับผู้ชอบเทรดระยะสั้น ถึง สั้นมาก ๆ คือจะเล่นในช่วง Time frame 5 Minute (5M)

หน้าตาก็เป็นดังภาพข้างต้นหละครับ


หน้าตาของโปรแกรมอาจจะดูสีสันไปหน่อย แต่จริง ๆ ใช้งานง่ายครับ ง่ายเกินคาด และ เหมาะสำหรับนักเทรดที่ไม่อยากศึกษาเรื่องข่าว เพราะระบบที่เทรดระยะสั้น ๆ นั้น ผมไม่แนะนำเล่นข่าวซักเท่าไหร่


ส่วนผลของการที่ผมได้ทดสอบระบบนี้มา 1 เดือน ก็บอกได้เต็มปากเต็มคำหละครับว่า "กำไร"


เดี๋ยวบทความหน้าผมจะมาอธิบายการดูระบบนี้นะครับ และ จะมาแจก Template เอาไว้ให้ใช้กันด้วย


บทความนี้เอาไว้แค่นี้ก่อนแล้วกัน (ตอนที่นั่งพิมพ์อย่นี้ จะตีสองหละ คงอธิบายไม่ไหว)


Saturday, June 20, 2009

Fundamental Analysis (ต่อ)

การลงทุนในตลาด Forex , Future , Option , Commodities , etc..

มีหัวใจในการวิเคราะห์หลัก 3 ประการ คือ

1. Fundamental Analysis (การวิเคราะห์ทางด้านพื้นฐานทางเศรษฐกิจ)
2. Technical Analysis (การวิเคราะห์ทางด้านเทคนิค หรือที่เราคุ้นเคยคือเรื่องการดูกราฟ)
3. Timing (จังหวะ และ โอกาส ในการเข้าซื้อ หรือการเข้าทำกำไร)


ผมไปเจอบทความดี ๆ จากเวป www.goldhips.com เป็นบทความเกี่ยวกับความหมายของข่าว ที่ส่งผลกระทบต่อราคาของค่าเงิน
ซึ่งเราสามารถติดตามข่าวได้จากเวป www.forexfactory.com หรือเวปอื่น ๆ
บทความที่ว่านี้เขียนโดย : ป้าเหมียว

---------------------------------------------------

เขียนโดย : ป้าเหมียว

กลุ่มสำคัญมาก

Trade Balance
โดยปกติประกาศทุกวันที่ 20 ของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของ 2 เดือนก่อนหน้านี้ โดยการประกาศจะบอกให้รู้ถึงทิศทางของการส่งออกและการนำเข้า ซึ่งตัวเลข Trade Balance จะสามารถคาดคะเนตัวเลข GDP ในอนาคตได้ ตัวเลข Trade Balance จะนำค่าตัวเลข Export ลบกับ ตัวเลข Import หากผลที่ออกมามีค่าเป็น + จะหมายถึงเศรษฐกิจที่ดี และมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย

Gross Domestic Product หรือ GDP
จะประกาศทุก ๆ สัปดาห์ที่ 3 หรือ 4 ของเดือน โดย GDP คือตัววัดที่กว้างที่สุดเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจ การที่ตัวเลข GDP เปลี่ยนแปลงไปจะหมายถึงความเปลี่ยนแปลงของอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งจะบ่งบอกเกี่ยวพันถึงอัตราเงินเฟ้อ การที่ตัวเลข GDP เพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย

Personal Consumption Expenditure หรือ (PCE)
ประกาศทุก ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน โดย PCE จะบอกถึงการอุปโภคบริโภคของภาคครัวเรือน โดย PCE จะบ่งบอกถึงความสามารถในการจับจ่ายของภาคครัวเรือน โดยตัวเลข PCE ที่สูงจะบ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่เติบโต ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Consumer Price Index หรือ CPI
ประกาศทุก ๆ วันที่ 13 ของเดือน โดย CPI จะเป็นตัววัดเกี่ยวกับระดับราคาของสินค้าและบริการที่ซื้อโดยผู้บริโภค CPI ที่เห็นประกาศกันจะมี CPI กับ Core CPI ซึ่งต่างกันตรงที่ว่า Core CPI จะไม่รวม ภาคอาหารและ ภาคพลังงานโดยปกติ CPI จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงอัตราเงินเฟ้อ โดยตัวเลข CPI ที่สูงจะเป็นตัววัดเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่สูง ซึ่งจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง

Treasury International Capital System หรือ TICS
ประกาศทุกวันที่ 5 ของการทำงานในแต่ละเดือน โดย TIC จะรวบรวมข้อมูลของ US เพื่อดูว่าการลงทุนของคน US และ คนต่างชาติเป็นอย่างไรบ้าง โดยหากข้อมูล TICS เป็นตัวเลขที่สูงจะหมายถึงเศรษฐกิจของ US ที่แข็งแกร่งซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Federal Open Market Committee หรือ FOMC
จะประชุมเมื่อไร ไม่มีตายตัวแน่นอน แล้วแต่เค้าจะนัดกัน โดยการประชุมจะดูภาพรวมและผลของการประชุมที่สนใจกันคือเรื่องของอัตราดอกเบี้ย การปรับอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Retail Sales
ประกาศทุกวันที่ 13 ของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนที่แล้ว โดยจะวัดจากใบเสร็จของการค้าปลีก ซึ่งโดยปกติจะมองในภาพของสินค้า ซึ่งจะไม่สนใจเรื่องของบริการ และอื่น ๆ (เช่นพวกค่าเบี้ยประกัน หรือค่าทนาย) Retail Sales ที่ไม่รวมการซื้อรถ จะเรียกว่า Core Retail Sales โดยการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขการขายจะหมายถึงราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้หมายถึงความต้องการซื้อที่ลดลง การที่ตัวเลข Retail Sales มีตัวเลขที่สูงหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีและแข็งแกร่ง ซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

University of Michigan Consumer Sentiment Index
ออกทุกวันศุกร์ที่สองของเดือน โดย Michigan Index จะเปรียบเทียบระหว่างดัชนีสองตัวคือ สิ่งที่คาดหวัง และ สิ่งที่เป็นไปจริง ๆ ถ้าสิ่งที่คาดหวังไว้และสิ่งที่เป็นจริงมีค่าใกล้เคียงกัน หมายถึงเศรษฐกิจเป็นไปในแนวทางเดียวกับที่หวังไว้ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Producer Price Index หรือ PPI
ประกาศแถว ๆ วันที่ 11 ของเดือนซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนก่อน PPI จะเป็นตัววัดราคาของสินค้าในมุมมองของการค้าส่ง PPI ที่ไม่รวมพวกอาหารและพลังงานจะเรียกว่า Core PPI ซึ่งจะถูกจับตามองมากกว่า เพราะจะมีผลกับอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจาก PPI จะเป็นตัวที่ออกมาก่อน CPI หาก PPI มีค่าสูงมักจะทำให้ CPI มีค่าที่สูงตามไปด้วย ดังนั้นการที่ PPI มีค่าสูงจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง


กลุ่มสำคัญ

Initial Weekly Jobless Claims
ประกาศทุกวันพฤหัส จะเป็นข้อมูลของสัปดาห์ปัจจุบันรวมถึงวันศุกร์ที่แล้วด้วย ซึ่งจะบอกถึงการว่างงาน โดยปกติจะสังเกตความเปลี่ยนแปลงได้จากข้อมูลก่อนหน้าย้อนหลังไปราว ๆ 4 สัปดาห์ แล้วมาทำเป็นกราฟ ทั่วไปแล้วหากมีความเปลี่ยนแปลงเกิน 30,000 จะเป็นสัญญาณบอกถึงการจ้างงานที่เปลี่ยนแปลงไป (อาจจะดีขึ้นหรือแย่ลง) ตัวเลขที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงคนว่างงานที่มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินอ่อนค่าลง

Personal Income
ประกาศแถว ๆ วันที่ 5 ของการทำงานในแต่ละเดือน Personal Income เป็นตัววัดเกี่ยวกับรายได้ (ไม่สนว่าจะได้มาจากไหน เช่นพวก ค่าเช่า, ได้มาจากรัฐ, เงินเดือน, ดอกเบี้ย หรืออื่น ๆ) โดยตัวนี้จะเป็นตัวชี้ถึงความต้องการในการบริโภคในอนาคต (แต่ไม่เสมอไปนะ เพราะบางทีรายได้ที่มากขึ้น แต่คนอาจจะไม่จับจ่ายใช้สอยก็ได้) ตัวเลข Personal Income ที่สูงจะหมายถึงอำนาจในการซื้อและเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเศรษฐกิจน่าจะดี ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Personal Spending
ประกาศแถว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า Personal Spending จะเป็นตัวเลขเกี่ยวกับรายจ่ายของบุคคล การจับจ่ายที่ลดลงจะหมายถึงรายได้ที่ลดลง ซึ่งจะทำให้กระแสเงินโดยรวมลดลง (แต่ก็เช่นเดียวกับ Personal Income บางทีการจ่ายลดลงไม่ได้หมายถึงรายได้ที่ลดลง แต่อาจจะไม่อยากจะจับจ่ายก็เป็นได้) ตัวเลขการจับจ่ายที่มากขึ้น จะเป็นสัญญาณที่บ่งว่าเศรษฐกิจดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Europe Central Bank (ECB), Bank Of England (BOE), Bank Of Japan (BOJ)
การประกาศตัวเลขอัตราดอกเบี้ยของประเทศต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ US จะทำให้ค่าเงินของประเทศนั้น ๆ เปลี่ยนแปลงไป โดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น โดยปกติการปรับอัตราดอกเบี้ยจะคำนึงถึง 2 อย่างคือ
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (อาจจะอ่อนไป หรือแข็งไป)
- อัตราเงินเฟ้อ และเงินฝืด

ECB ประกอบไปด้วย 25 ประเทศในยุโรป คือ Italy, France, Luxembourg, Belgium, Germany, Netherlands, Denmark, Ireland, United Kingdom, Greece, Spain, Portugal, Austria, Finland, Sweden, Czech Republic, Estonia, Cyprus, Latvia, Lithuania, Hungary, Malta, Poland, Slovakia และ Slovenia

Durable Goods Orders
ประกาศแถว ๆ วันที่ 26 ของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของเดือนก่อน โดยจะเป็นตัววัดปริมาณของการสั่งสินค้า การส่งสินค้า โดยจะเป็นตัววัดถึงภาคการผลิต ซึ่งหากว่าเศรษฐกิจมีปัญหาจะส่งผลให้ปริมาณการสั่งสินค้าลดลง ตัวนี้จะเป็นเหมือนตัวบอกถึง GDP และ PDE การที่ตัวเลข Durable Goods Orders มีค่าที่มากขึ้น จะบ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Institute of Supply Management หรือ ISM
ออกทุกวันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า ตัวนี้จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงภาคการผลิต ซึ่งรวบรวมข้อมูลอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับ การสั่งซื้อสินค้าใหม่, การผลิต, การจ้างงาน, สินค้าคงคลัง, เวลาในการขนส่ง, ราคา, การส่งออก และการนำเข้า การที่ตัวเลข ISM มีตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจะแสดงถึงเศรษฐกิจที่ดี และสามารถทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นได้

Philadelphia Fed Survey
ออกราว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า โดยการสำรวจนี้จะมองมุมกว้างในทิศทางของภาคการผลิต ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ร่วมกับ ISM ที่มองเป็นลักษณะของการผลิตเป็นตัว ๆ ไป โดย Philadelphia Fed Survey จะบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของยุทธวิธีของผู้ผลิต ประกอบด้วย ชั่วโมงการทำงาน, พนักงาน และอื่น ๆ ซึ่งตัววัดตัวนี้มีความสำคัญมากในระบบเศรษฐกิจ การที่ตัวเลขเพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินแข็งขึ้น

ISM Service Index หรือ Non-Manufacturing ISM
ออกราว ๆ วันที่สามของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน ซึ่งเป็นการสำรวจของกลุ่ม การเงิน, ประกันภัย, อสังหาริมทรัพย์, สื่อสาร และ ทั่วไป การที่ตัวเลข ISM เพิ่มขึ้นหมายถึง demand ที่เพิ่มขึ้น และทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Factory Orders
ออกราว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน Factory Order เป็นการวัดการสั่งสินค้าทั้งหมด การสั่งสินค้าที่สูงหมายถึง demand ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Industrial Production
ออกราว ๆ กลางเดือน เป็นข้อมูลย้อนหลัง 1 เดือน ซึ่งเป็นตัววัดว่าการผลิตของอุตสาหกรรมได้ผลออกมาจริง ๆ เท่าไร การที่ตัวเลขออกมาสูงขึ้นหมายถึง demand ที่เพิ่มขึ้น มีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Non-Farm Productivity
ออกราว ๆ วันที่ 7 ของเดือนที่ 2 ของ ควอเตอร์ เป็นข้อมูลของควอเตอร์ที่แล้ว อันนี้เป็นตัววัดของผลงานของคนงานและต้นทุนในการผลิตของสินค้า ในสถาวะที่เงินเฟ้อมีความสำคัญตัวเลขนี้สามารถที่จะทำให้ตลาดเคลื่อนไหวได้ โดยถ้าตัวเลขที่ลดลงสามารถบอกถึงอนาคตที่เปลี่ยนไป เช่นตัวเลข GDP ที่ดี แต่ถ้าตัวเลขนี้ขัดกันก็สามารถทำให้ตลาดมีผลกระทบได้ การที่ตัวเลข Non-Farm Productivity เพิ่มขึ้น หมายถึงการยืนยันในเรื่องของพื้นฐานของเศรษฐกิจที่ดี และส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Current Account Balance
ออกราว ๆ วันที่ 7 ของเดือนที่ 2 ของ ควอเตอร์ เป็นข้อมูลของควอเตอร์ที่แล้ว Current Account Balance จะบอกถึงความแตกต่างของเงินสำรอง และการลงทุน ตัวนี้เป็นตัวสำคัญในส่วนของการซื้อขายกับต่างประเทศ ถ้า Current Account Balance เป็น + จะหมายถึงเงินออมในประเทศมีสูง แต่ถ้าเป็น - จะหมายถึงการลงทุนภายในประเทศเป็นเงินจากต่างประเทศมาลงทุน ถ้า Current Account Balance เป็น + ส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Consumer Confidence
ออกทุกวันอังคารสุดท้ายของเดือน เป็นข้อมูลเดือนปัจจุบัน เป็นการสำรวจในแต่ละครัวเรือน โดยตัวเลขตัวนี้จะมีความสัมพันธ์กับเรื่องของ การว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ และรายได้ที่แท้จริง การที่ตัวเลขมีค่าที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินแข็งค่า

NY Empire State Index
ออกทุกสิ้นเดือน โดยเป็นการสำรวจจากผู้ผลิต หากตัวเลขมีค่ามากขึ้น จะทำให้ค่าเงินแข็งค่า

Leading Indicators
ออกราว ๆ สองสามวันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน ซึ่งจะเป็นบทสรุปของตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศไปก่อนหน้านี้ ประกอบไปด้วย New Order, Jobless Claim, Money Supply, Average Workweek, Building Permits และ Stock Prices

Business Inventories
ออกราว ๆ กลางเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการขายและสินค้าคงคลังจากภาคการผลิต การค้าส่ง และการค้าปลีก ตัวเลขที่สูงขึ้นของ Business Inventory หมายถึงสภาวะเศรษฐกิจที่ดี ซึ่งทำให้ค่าเงินแข็งค่า

IFO Business Indexes
ประกาศในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลเดือนก่อน ซึ่งเป็นตัวที่ดูเกี่ยวกับภาคธุรกิจของประเทศเยอรมัน ตัวเลขที่สูงหมายถึงเศรษฐกิจที่ดี จะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Fundamental Analysis

การลงทุนในตลาด Forex , Future , Option , Commodities , etc..

มีหัวใจในการวิเคราะห์หลัก 3 ประการ คือ

1. Fundamental Analysis (การวิเคราะห์ทางด้านพื้นฐานทางเศรษฐกิจ)
2. Technical Analysis (การวิเคราะห์ทางด้านเทคนิค หรือที่เราคุ้นเคยคือเรื่องการดูกราฟ)
3. Timing (จังหวะ และ โอกาส ในการเข้าซื้อ หรือการเข้าทำกำไร)


ผมไปเจอบทความดี ๆ จากเวป www.goldhips.com เป็นบทความเกี่ยวกับความหมายของข่าว ที่ส่งผลกระทบต่อราคาของค่าเงิน
ซึ่งเราสามารถติดตามข่าวได้จากเวป www.forexfactory.com หรือเวปอื่น ๆ
บทความที่ว่านี้เขียนโดย : ป้าเหมียว

---------------------------------------------------


เขียนโดย : ป้าเหมียว

ระดับความสำคัญของปฏิทินเศรษฐกิจ

1. สำคัญมาก
ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าสำคัญมาก ซึ่งจะเป็นข่าวและตัวเลขที่มีผลกระทบกับค่าเงินของประเทศนั้น ๆ อย่างแรง เมื่อตัวเลขประกาศแล้ว จะมีปริมาณการซื้อขายที่สูงมาก ๆ ซึ่งจะส่งผลอยู่ประมาณ 5 – 10 นาที เราอาจจะได้เห็นกราฟเป็นแท่งยาว ๆ ทั้งขึ้น และ ลง ในเวลาเดียวกัน

2. สำคัญ
อันนี้ก็สำคัญ ก็จะส่งผลกระทบกับตลาดเงินมากแต่น้อยกว่า “สำคัญมาก” อยู่นิดนึง ซึ่งก็จะส่งผลให้มีกราฟยาว ๆ (แต่ขนาดของแท่งจะสั้นกว่าแบบแรก)

3. ทั่วไป
อันนี้จะเป็นข่าวเศรษฐกิจทั่ว ๆ ไป มีผลบ้างเล็กน้อยถึงปานกลาง หากประกาศวันเดียวกับ 2 ตัวบน อาจจะไม่ส่งผลอะไรสำคัญเลย แต่ถ้าประกาศตัวเดียว โดด ๆ อาจมีผลบ้างโดยหากสวนทางกับ 2 ตัวข้างบนอาจทำให้ตลาดนำข่าวนี้มาเล่นได้ เพราะจะเป็นตัววัดอย่างหนึ่งว่า ตัวเลขอื่นอาจจะหลอกลวงได้


คราวนี้ตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศนั้นเกี่ยวอะไรกับราคาทองคำ

โดยปกติราคาทองคำจะขึ้นอยู่กับ

1. อัตราแลกเปลี่ยนของ USD
2. ราคาน้ำมัน
3. ราคาของโลหะพื้นฐาน และ โลหะอื่น พวก ทองแดง เงิน แพตตินั่ม พาลาเดียม
4. อื่น ๆ (ยังนึกมะออกจ้ะ)

คราวนี้ตัวเลขที่ประกาศจะกระทบกับ 2 อย่างตรง ๆ คือ อัตราแลกเปลี่ยน กะ ราคาน้ำมัน


แล้ว 2 ตัวนี้มีความเกี่ยวข้องกะราคาทองคำอย่างไร?

1. อัตราแลกเปลี่ยน โดยปกติ ถ้าไม่มีข่าวอย่างอื่น (หมายถึงพวกข่าวก่อการร้าย ภัยธรรมชาติ ฯลฯ) ที่มีน้ำหนักมากกว่า อัตราแลกเปลี่ยนก็จะมีผลตรง ๆ โดยไม่มีอย่างอื่นมาทำให้ราคาเพี้ยนไปจากเดิม โดยปกติแล้ว ทองคำจะขึ้นเมื่อ USD อ่อนค่า และ ทองคำจะลง เมื่อ USD แข็งค่า
แล้วคำที่ว่าอ่อนค่า กับ แข็งค่า เนี่ย เค้าเทียบกะสกุลไหนบ้าง โดยปกติแล้วจะดูที่ 2 สกุลใหญ่ ชื่อ JPY และ EUR หากสองอันนี้ไปในทิศทางเดียวกัน ก็แสดงว่า USD อ่อน หรือ แข็งจริง ๆ จ้ะ

2. ราคาน้ำมัน จะเป็นตัวช่วยดัน หรือ ฉุด ราคาทองคำในทิศทางเดียวกับราคาน้ำมัน


เอาละ... มาดูกันว่าโดยปกติปฏิทินเศรษฐกิจที่เค้าขยันประกาศตัวเลขกันมีอะไรบ้าง (มันอาจจะไม่ครบทุกอย่างนะ)


ระดับที่เรียกว่าสำคัญมากมีอะไรบ้าง...

ลำดับ ชื่อในปฏิทิน

1 Non farm Payrolls
2 Unemployment Rate
3 Trade Balance
4 GDP ( Gross Domestic Production )
5 PCE Price Deflator ( Personal Consumption Expenditure)
6 CPI ( Consumer Price index )
7 TICS ( Treasury International Capital System )
8 FOMC ( Federal open Market committee meeting )
9 Retail Sales
10 Univ. Of Michigan Consumer Sentiment Survey
11 PPI ( Producer Price Index )


ระดับที่เรียกว่าสำคัญ...

ลำดับ ชื่อในปฏิทิน

12 Weekly Jobless Claims
13 Personal Income
14 Personal spending
15 BOE Rate Decision ( Bank Of England )
16 ECB Rate Decision ( Europe Central Bank )
17 Durable Goods orders
18 ISM Manufacturing Index ( Institute of Supply Manager )
19 Philadelphia Fed. Survey
20 ISM Non-Manufacturing Index
21 Factory Orders
22 Industrial Production & Capacity Utilization
23 Non-Farm Productivity
24 Current Account Balance
25 Consumer Confidence ( Consumer Sentiment )
26 NY Empire State Index - ( New York Empire Index )
27 Leading Indicators
28 Business Inventories
29 IFO Business Index ( Institute of IFO in Germany )


ระดับปานกลางถึงทั่วไป โดยมากใช้เป็นตัววัดพื้นฐาน...
ลำดับ ชื่อในปฏิทิน

30 Housing Starts
31 Existing Home sales
32 New Home Sales
33 Auto and Truck sales
34 Employee Cost Index - Labor Cost Index
35 M2 Money Supply - Money Cost
36 Construction Spending
37 Treasury Budget
38 Weekly Chain Stores - Beige Book -Red Book
39 Whole Sales Trade
40 NAPM ( National Association of Purchasing Management)

เอาละ... รู้ถึงความสำคัญของปฏิทินไปแล้ว คราวนี้มาดูกันว่าแต่ละอัน มันเกี่ยวข้องกันยังไง แล้วมีความหมายเป็นอย่างไร ค่าที่ประกาศออกมาคืออะไร แล้วที่เค้าคาดการณ์ไว้หมายถึงอะไร

ตะว่า... เดี๋ยวค่อยต่อฉบับหน้าน้า

Thursday, June 18, 2009

5 Minutes System

ระบบ 5 Min เป็นอีกระบบหนึ่งที่ผมใช้ประจำในการเทรด เพราะเนื่องจากนิสัยของผมชอบเล่นระยะสั้นและชอบนั่งเฝ้าหน้าจอตลอดเวลา ระบบนี้จึงเหมาะกับผม


indicators ที่ต้องใช้ ก็เพียง indicators พื้นฐานที่มีมากับโปรแกรม

EMA10 , EMA21 , SMA50


หลักการวิเคราะห์ ( BUY )

1. ดูความแข็งแรงของเทรน จากเส้น SMA50 ถ้าเส้น SMA50 ทำมุมมากกว่า 20 องศา นั่นหมายความว่าเทรนมีความแข็งแรง จากรูปเส้น SMA50 คือเส้นสีเหลือง ทำมุมมากกว่า 20

2. จุดที่ควรเข้าซื้อคือ โซนระหว่างเส้น EMA10 และ EMA21

3. Take Profit 8 -15 pips (รวม spread แล้ว)

4. Stop loss 6 - 8 pips (รวม spread แล้ว)


หลักการวิเคราะห์ ( SELL ) เหมือนกัน แต่ ทิศทางตรงกันข้าม


จะเห็นว่าการ take profit จากระบบนี้ ค่อนข้างน้อย เพราะฉนั้นผมต้องชดเชยกับจำนวนเงินลงทุนที่มากกว่าระบบธรรมดา

ช่วงที่ไม่ควรเข้าซื้อขาย คือช่วง sideway ( SMA50 แบนราบ ไม่ทำมุนทิศทางใดทิศทางหนึ่ง )

อีกอย่าง ระบบนี้ ไม่เหมาะกับการเล่นข่าวนะครับ พยายามหลีกเลี่ยงข่าว



ผลงานคร่าว ๆ จากระบบ 5 Minutes system คลิ๊กที่รูปเพื่อดูรูปใหญ่นะครับ



สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบ หรือ ปัญหาของระบบ ได้ที่ บอร์ดพูดคุย นะครับ

Wednesday, June 3, 2009

eur/usd @ 3/06/09




ลักษณะ สัญญาณ sell เมื่อวันที่ 3/06/09 ใครต้องการ Template นี้ ลงชื่อไว้ใน comment นะครับ เดี๋ยวผมจะมาแจก เป็นระบบ 4H ใช้งานได้ดี

Sunday, May 31, 2009

Indicators - MACD

MACD ( Moving Average Convergence Divergence )

เป็นเครื่องมือที่ดีอีกตัวหนึ่งที่ใช้ในการดูการเปลี่ยนแนวโน้มของราคา ค่าทั่วไป หรือ ค่ามาตราฐาน ที่โปรแกรม MT4 ตั้งค่าให้เราตั้งแต่เริ่มต้นคือ (12,26,9)

FastEMA = 12

SlowEMA = 26

SignalSMA = 9


เส้นสีแดงใน MACD คือ SingnalSMA

เมื่อไหร่ที่เส้นสีแดงอยู่นอกกรอบแท่งสีเทานั่นหมายความว่าตลาดอยู่ในช่วงขาลงหรือ bearish

แต่เมื่อใดที่เส้นสีแดงอยู่ในกรอบแท่งสีเทาจะหมายความว่าตลาดอยู่ในช่วงขาขึ้นหรือ bullish (อ่านว่า บลูริช นะครับ อย่าไปอ่านว่า บลูชิด เพราะมันไม่เป็นมงคลกับการเทรด ฮ่า ๆ )






จากรูปคือตัวอย่างวิเคราะห์จาก MACD คร่าว ๆ

สังเกตวงกลมสีแดงที่ indicator MACD จะเห็นว่า กรอบแท่งสีเทาอยู่เหนือเส้นศูนย์ เป็นสัญญาณการเปลี่ยนเป็นเทรนขาขึ้น

ใน indicator RSI ผมได้ขีดเส้นแนวรับสีแดง จะเห็นว่ามีการดันราคาขึ้นไป เป็นช่วงเทรนขาขึ้น บวกทั้งกราฟของราคาก็อยุ่ในช่วงขาขึ้น

สรุป
สัญญาณของ MACD เส้นสีแดงอยู่ในกรอบแท่งสีเทา + กรอบแท่งสีเทาอยู่เหนือเส้นศูนย์ + กราฟราคาอยู่ในช่วงเทรนขาขึ้น หาจังหวะแล้วกระโดด buy ได้เลยครับ

ทั้งสามสัญญาณยืนยันเป็นเทรนขาขึ้น เพราะฉนั้นโอกาสที่ราคาจะปรับสูงขึ้นมีโอกาสเป็นไปได้สูง

สังเกตผมจะใช้คำว่า"มีโอกาสเป็นไปได้สูง" ผมจะไม่การันตีว่าเป็นไปได้ 100% เพราะการลงทุนทุกอย่างล้วนแล้วแต่มีความเสียง การวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นแค่เพียงวิธีในการลดความเสียงในการลงทุนเท่านั้น

Wednesday, May 27, 2009

Indicators - RSI

RSI ( Relative Strength Index ) เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้วัดการแกว่งตัวของราคาหุ้น สำหรับการลงทุนในช่วงหนึ่ง เพื่อดูสภาวะการซื้อมากเกินไป (Over Bought) หรือ สาภาวะการขายมากเกินไป (Over Sold) และยังใช้เป็นสัญญาณเตือนว่า แนวโน้มของราคาหุ้นที่มีราคาขึ้นหรือลงนั้น ใกล้มีสภาวะอ่อนตัวลงแล้วหรือยัง โดยการดู RSI นั้น ปกติเราจะใช้ระดับ 70% กับ 30% ในการจะบอกสภาวะ Over Bought และ Over Sold

วิธีการเรียกใช้ indicator ใน MT4 นั้น ให้กดที่ icon indicators ที่อยู่ตรงแถบเครื่องมือข้างบน จากนั้นเลือก Custom ---> RSI จะได้ดังภาพ





ในการเซ็ตค่าเบื้องต้นให้เซ็ตดังนี้



ที่แทป input ให้ใส่ค่า RSI Peroid = 14

แทป Levels ให้ Add Level 30 และ 70

จะได้ดังภาพ

การวิเคราะห์

ถ้า RSI อยู่เหนือเส้น 70% แสดงว่า ราคาอยู่ใน Over Bought Zone (ซื้อมากเกินไป) อาจจะมีการเทขายเกิดขึ้น ให้ทำการ Sell หรือ Short

RSI อยู่ต่ำกว่าเส้น 30% แสดงว่า ราคาอยู่ใน Over Sold Zone (ขายมากเกินไป) อาจจะมีการช้อนซื้อเกิดขึ้น ให้ทำการ Buy หรื Long


ทั้งนี้ทั้งนั้น RSI เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งในการช่วยวิเคราะห์ การที่จะดู RSI อย่างเดียวนั้นบางครั้งก็ให้ผลที่ไม่แม่นยำเท่าที่ควร ควรดูร่วมกับ indicators อื่น ๆ ประกอบ

Tuesday, May 26, 2009

Chapter 3. มารู้จักกับโปรแกรม MT4

โปรแกรม MT4 (Meta Trader 4 ) เป็น platform ที่ได้รับความนิยมจากหลายโบรกเกอร์ อันเนื่องมาจากใช้งานง่าย มีเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์อย่างครบครัน จากบทที่แล้ว เราจะเจอกับหน้าต่างกราฟ 4 กราฟ จะเห็นว่า แต่ละกราฟก็จะเป็นกราฟของแต่ละคู่เงิน ในเริ่มต้นผมขอแนะนำให้ปิดทั้ง 4 กราฟออกไปก่อน เราจะได้หน้าจอดังนี้

จากภาพ หมายเลข 1 คือ Market Watch เป็นหน้าต่างที่รวมเอาคู่ค่าเงิน ที่มีการเทรดดิ้ง นอกจากคู่ค่าเงินแล้ว ยังมีราคาทอง , น้ำมัน ฯลฯ


หมายเลข 2 คือ Navigator เป็นหน้าต่างที่รวมรายละเอียดของ account ที่ทำการลงทะเบียน , indicator และ script ต่าง ๆ


หมายเลข 3 คือ Teminal หน้าต่างนี้เปรียบเสมือนสมุดบัญชี จะบอกถึงรายละเอียดของเงินลงทุน รายละเอียดว่าเราได้ทำการซื้อขายอะไรไปบ้าง

ถ้าจะเปิดดูกราฟคู่ค่าเงินไหน ก็ให้คลิ๊กขวาที่ค่าเงินนั้น แล้วเลือก Chart Window กราฟก็จะเปิดออกมา



Time Frame = ใช้สำหรับในการดูกราฟ ว่าเราต้องการดูการเคลื่อนไหวของกราฟในลักษณะกี่นาที กี่ชม.
M1 , M5 , M15 , M30 ( M = Minute ) 1 นาที , 5 นาที ,...
H = Hour
D = Day
W = Week
MN = Month

ลักษณะกราฟ = ชนิดของกราฟเรียงจากซ้ายไปขวาได้ดังนี้ Bar , Candle Stick , Line ( กราฟแท่ง , กราฟแท่งเทียน , กราฟเส้น )
Indicators = เป็น short cut ไว้สำหรับในการเพิ่ม Indicators(ตัวชีวัด) เพื่อช่วยในการวิเคราะห์กราฟ

Chapter 2. วิธีดาวโหลดโปรแกรมดูกราฟ forex (MT4)

โบรคเกอร์ที่เกี่ยวกับ Forex ในอินเตอร์เน็ตนั้นมีมากมาย แต่ที่ผมจะขอยกตัวอย่าง จะเป็นของ Fxpro.com


เมื่อเข้าสู่หน้าเวปไซด์ ให้สังเกตแทปเมนูด้านบน จากนั้นเลือก practice account จากหน้านี้ จะมีให้ดาวโหลดโปรแกรม (Instant download no registration) ไฟล์ที่ได้จากการ download จะมีชื่อว่า fxpro4setup.exe มีขนาดประมาณ 3 MB

เมื่อ download เสร็จเรียบร้อย ให้ทำการติดตั้งโดยใช้ภาษา English (เพราะไม่มีภาษาไทยให้เลือก) แล้วกด Next ไปเรื่อย ๆ จนเสร็จสิ้น จะได้หน้าต่างดังรูป


จากหน้าต่างตรงกลาง โปรแกรมจะให้เรากรอกข้อมูลต่าง ๆ ตรงนี้เราสามารถกรอกข้อมูลอะไรก็ได้ลงไป แต่ต้องให้อยู่ในรูปแบบของคำสั่ง เช่น e-mail จะต้องกรอก xxx@hotmail.com เป็นต้น

ที่เหลือก็ปล่อยไว้เหมือนเดิม leverage คือ อัตราส่วนเงินในการเทรด เช่น 1:500 จะเท่ากับว่า เราลงเงิน $1 จะมีค่าเท่ากับ $500 ตรงนี้จะกล่าวในบทต่อไป ตรงนี้ให้ตั้งไว้ 1:500 ในส่วนของ Deposit คือจำนวนเงินที่จะนำเข้าไปเทรด ตรงนี้แล้วแต่จะกรอกครับ แต่ผมแนะนำให้กรอก 1000 ก่อน เพื่อเวลาเราเริ่มต้นเทรด demo account จะได้เห็นผลกำไร/ขาดทุน จากการเทรดขั้นต่ำได้ง่ายขึ้น จากนั้นให้ติ๊กเครื่องหมายถูกที่กล่อง I agree... เสร็จแล้ว กด next ต่อได้เลยครับ

หน้าต่อไปจะพบกับหน้า scan server หน้านี้ให้กด next ต่อไปได้เลย หลังจากเสร็จสิ้น เราก็จะได้ Login กับ Password มา ในส่วนนี้ไม่ต้องจดก็ได้ครับ เพราะโปรแกรมมันจะบันทึกให้เอง ครั้งหน้าที่เราเปิดโปรแกรมมันจะ auto login ให้เลย จากนั้น กด Finish ได้เลยครับ

เมื่อกด finish จะเห็นหน้าต่างกราฟ 4 กราฟ ในส่วนของโปแกรมนี้ ถ้าเราต้องการจะตรวจเช็คว่า โปรแกรมได้มีการ connect กับ internet รึเปล่า ให้ดูมุมขวาล่าง จะมี อัตราการส่งข้อมูล เช่น 200/1 kb ถ้าโปรแกรมไม่สามารถเชื่อมต่อกับ server ได้ มันจะขึ้น no connection

Chapter 1. มารู้จัก FOREX กันก่อน

สวัสดีครับ

ก่อนที่เราจะเริ่มทำธุรกิจหรือเรียนรู้อะไรก็ตาม สิ่งแรกที่เราควรจะรู้คือสิ่งนั้นคืออะไร บทความนี้ผมจะแนะนำว่า forex คืออะไร

Forex (Foreign Exchange) ตลาด Forex เป็นตลาดการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยมูลค่าการซื้อขายกว่า 1.9 ล้านล้านดอลล่าร์ต่อวัน ($1.9 trillion) เป็นตลาดการเงินที่มีสภาพคล่องสูงมาก โดยสามารถซื้อขายได้ตั้งแต่เวลา ตี4 เช้าวันจันทร์ ไปจนถึง ตี4 เช้าวันเสาร์ ( ตามเวลาในประเทศไทย ) ตลอด 24 ชม. การซื้อขายในตลาด Forex เป็นการซื้อขายค่าเงิน โดยซื้อค่าเงินสกุลหนึ่ง ในขณะเดียวกัน ก็ขายเงินสกุลหนึ่งออกไป ตัวอย่างเช่น เงินสกุลยูโร/ดอลล่าร์สหรัฐ (EUR/USD) หรือ เงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐ/เยนญี่ปุ่น (USD/JPY ) เป็นต้น

ถ้ายังมองภาพรวมของ Forex ไม่ออก ผมขอยกตัวอย่างคร่าว ๆ เช่น เราซื้อเงินดอลล่าร์สหรัฐ ไว้ $100 ซึ่งขณะนั้นค่าเงินบาทเทียบกับค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐอยู่ที่ 35.00 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ เมื่อเวลาผ่านไป เงินบาทอ่อนไปอยู่ที่ 40.00 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ ถ้าเราต้องการจะขายออก เราจะได้กำไร 5 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ เพราะฉนั้นกำไรสุทธิที่เราจะได้รับคือ 5 x 100 = 500 บาท

ปัจจุบันการซื้อขายกับตลาด Forex สามารถทำได้ง่ายขึ้น โดยการซื้อขายผ่าน Internet และใช้เงินในการเปิดบัญชีไม่มากนัก บางโบรกเกอร์สามารถเปิดบัญชีขั้นต่ำได้ที่ $1 ในบทต่อไป ผมจะมาแนะนำการเปิดบัญชีซื้อขาย Forex กัน ติดตามต่อบทความหน้านะครับ